Article

Edge computing คือ อะไร และประโยช์นกับ IoT

Edge computing คือ อะไร และประโยช์นกับ IoT เมื่อพูดถึง Edge computing หลายคนอาจจะไม่รู้ว่ามันคืออะไร ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับ Cloud computing ซึ่งปัจจุบันไปที่ไหนก็มีคนพูดถึงแต่คลาวด์ (Cloud) เนื่องจากข้อมูลข่าวสารที่เพิ่มมากขึ้น ความซับซ้อนที่มากขึ้น ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นจากการลงทุนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ การดูแลรักษารวมทั้งต้องใช้บุคลากรผู้เชี่ยวชาญ  จึงทำให้ Cloud Computing ได้รับความนิยมในยุค IoT ทั้งภาคธุรกิจขององค์กร และกำลังเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในภาคการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม  ซึ่งคลาวด์จะอาศัยเครือข่าย Internet ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลเมื่อไรหรือที่ใดๆ ก็ได้   การนำคลาวด์เข้ามาใช้กับภาคการผลิตอาจมีข้อแตกต่างจากการใช้กับข้อมูลระดับบนขององค์กร เนื่องจากข้อมูลในภาคการผลิตจะอ้างอิงกับเวลาที่เรียกว่า Real Time ถ้าเราส่งข้อมูลเหล่านี้ขึ้นคลาวด์โดยปราศจากการคัดกรองและจัดเตรียมข้อมูล  จะทำให้ต้องส่งข้อมูลจำนวนมหาศาลขึ้นคลาวด์โดยไม่จำเป็น  ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิด Edge Computing ขึ้น แล้ว Edge computing คืออะไร?  แท้จริงมัน คือ การประมวลผลที่ขอบ (ของเครือข่าย) ซึ่งอาจจะอยู่ตรงไหนก็ได้ระหว่างอุปกรณ์นอกสุด (End devices) ซึ่งจะทำหน้าที่เก็บข้อมูลและประมวลผลข้อมูลที่อยู่ใกล้กับแหล่งข้อมูลให้มากที่สุด ข้อมูลอาจถูกวิเคราะห์หรือจัดรูปแบบเชิงสถิติ  หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นการนำข้อมูลมาประมวลผลที่ต้นทางที่ใกล้กับแหล่งข้อมูลมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ […]

System

17 February 2020

โครงสร้างเครือข่าย EtherNet/IP

โครงสร้างเครือข่าย EtherNet/IP EtherNet/IP (IP = Industrial Protocol) คือ โปรโตคอลที่ถูกสร้างขึ้นสำหรับการสื่อสารในภาคอุตสาหกรรมซึ่งใช้สถาปัตยกรรม Ethernet ทำให้สามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ในโลกของ IT ได้ โดยสอดคล้องตามมาตรฐาน IEEE 802.3/TCP/UDP/IP  ในที่นี้เราคงไม่กล่าวถึงรายละเอียดและที่มาที่ไปของ EtherNet/IP แต่เราจะกล่าวถึงวิธีการต่อใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ เช่น PLC Inverter และ Servo Driver ที่รองรับ EtherNet/IP  โดยมีอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบ ดังนี้ แบบที่ 1 Device Level Ring (DLR) การต่อถึงกันของอุปกรณ์ต่างๆจะมีลักษณะเป็นวงแหวนดังแสดงในรูปข้างล่างนี้ ที่จุดต่อของอุปกรณ์แต่ละตัวจะต้องเป็น Ethernet Switch ซึ่งควรเป็น Industrial Switch (Industrial Ethernet Switch) ตัวอย่างเช่น PLC ในรูปจะมีพอร์ต EtherNet/IP จำนวน 2 พอร์ต ซึ่งทั้ง […]

System

7 January 2020

5 เหตุผลที่ควรควบคุมอินเวอร์เตอร์ผ่านเน็ตเวิร์ค

5 เหตุผลที่ควรควบคุมอินเวอร์เตอร์ผ่านเน็ตเวิร์ค (Network) ในการฝึกอบรมการใช้ PLC ขั้นพื้นฐานมีลูกค้าท่านหนึ่งถามว่า ‘การควบคุมอินเวอร์เตอร์ด้วย PLC ผ่านเน็ตเวิร์คดีกว่า Hard-wired อย่างไร’ และ ‘การต่ออินเวอร์เตอร์เข้ากับเน็ตเวิร์คมันยากไหม’ ผู้บรรยายครุ่นคิดอยู่ชั่วครู่ก่อนที่จะตอบคำถามลูกค้าท่านนั้น โดยให้เหตุผล 5 ข้อ ที่ควรเลือกการเชื่อมต่ออินเวอร์เตอร์กับ PLC ด้วยเน็ตเวิร์ค ซึ่งพอจะไล่เรียงได้ดังต่อไปนี้ 1.ลดต้นทุน (Reduce cost) เหตุผลแรกที่จะกล่าวถึงคือลดต้นทุน  สมมุติว่าคุณมีอินเวอร์เตอร์(Inverter)เพียงตัวเดียวควบคุมด้วย PLC การใช้ Hard-wired น่าจะเป็นวิธีง่ายที่สุด  แต่ถ้าคุณต้องใช้อินเวอร์เตอร์หลายๆ ตัวในระบบ   การควบคุมอินเวอร์เตอร์ผ่านเน็ตเวิร์คน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าและช่วยประหยัดต้นทุนของระบบได้ เราลองมาดูกันว่ามันจะช่วยประหยัดได้อย่างไร  จากรูปข้างบนเป็นตัวอย่างการเดินสาย(hard wired)ควบคุมระหว่าง PLC กับอินเวอร์เตอร์  จะเห็นว่าอินเวอร์เตอร์หนึ่งตัวจะใช้สายสัญญาณอย่างน้อย 6 เส้น โดยจะมีสัญญาณ Digital Output = 3 จุด, Digital Input = 1 จุด, Analog Output = […]

System

7 January 2020

ปัญหาคุณภาพไฟฟ้าและการปรับปรุง (ตอนที่ 1)

ปัญหาคุณภาพไฟฟ้าและการปรับปรุง (ตอนที่ 1) คุณภาพกำลังไฟฟ้า(Power Quality) ได้มีการให้ความสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน  โดยทั่วไปนั้นมักให้ความสำคัญในปัญหาของคุณภาพไฟฟ้าในลักษณะที่แตกต่างกันตามเหตุการณ์ที่ได้เผชิญอยู่ เช่น แรงดันไฟฟ้าตก ไฟฟ้าดับ ไฟฟ้ากระโชก(หรือหลายคนเรียกไฟกระชาก) ไฟกระพริบ เป็นต้น คุณภาพไฟฟ้าในระดับสากลนั้นมักจะอ้างอิงตามมาตรฐาน IEEE ,IEC และอื่นๆที่ใกล้เคียงเช่น British standard (BS) ,German Industrial Standard (DIN) เป็นต้น โดยแต่ละมาตรฐานนั้นจะมีการกำหนดนิยามของคุณลักษณะของแรงดัน กระแส ความถี่ของแหล่งจ่ายไฟฟ้า สัญญาณรบกวนในระดับความถี่ต่ำ ความถี่สูง(กิโลเฮิร์ตkHz ถึง กิกะเฮิร์ต GHz) ฮาร์โมนิคส์(Harmonics Distortion) ปัญญหาฮาร์โมนิคส์(Harmonics) ถือว่าเป็นหนึ่งในปัญหาคุณภาพไฟฟ้า  ในที่นี้จะกล่าวถึงจะกล่าวถึงความผิดเพี้ยนของรูปคลื่นความถี่โดยความถี่นั้นจะเป็นไปตามจำนวนเท่าของความถี่หลัก  50 Hz ซึ่งเป็นความถี่ที่การไฟฟ้าแห่งประเทศไทยได้เลือกใช้ โดยการกำเนิดของฮาร์โมนิคส์นี้โดยมากจะมาจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีการแปลงไฟฟ้าจากกระแสสลับเป็นกระแสตรง (AC — > DC , AC/DC )  ซึ่งปกติแล้วการแปลงไฟฟ้านั้นจะใช้อุปกรณ์จะใช้อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ(Semi-conductor) เช่น ไดโอด(Diode) บริดจ์ไดโอด(Bridge Diode) ไทริสเตอร์(Thyristor) […]

System

7 January 2020

บริษัท โซนิค ออโตเมชั่น จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่าย Allen-Bradley(AB)

Aliquam porta volutpat consectetur. Morbi elementum semper efficitur. Pellentesque habitant morbi tristique senectus et netus et malesuada fames ac turpis egestas. Vestibulum in ante quam. Integer faucibus blandit neque, at laoreet odio varius sit amet. In rutrum orci quis orci sollicitudin, eu suscipit est ornare. Fusce vitae neque nulla.

System

26 November 2019

Warning: Undefined array key "offset_start" in /newdata/vhosts/sonicautomation.co.th/httpdocs/wp-content/themes/plant/inc/template-tags.php on line 122
1 8 9 10 14