Article

เคล็ดไม่ลับ “ประหยัดกว่าด้วยการควบคุมอินเวอร์เตอร์ผ่าน Ethernet”

เคล็ดไม่ลับ “ประหยัดกว่าด้วยการควบคุมอินเวอร์เตอร์ผ่าน Ethernet” การควบคุมการทำงานของอินเวอร์เตอร์(Inverter) มักจะสั่งงานผ่านอินพุตเอาต์พุตของ PLC โดยใช้สัญญาณทั้งดิจิตตอลและอนาลอก เช่น Start, Stop, Speed reference และ Fault เป็นต้น ทำให้ต้องใช้อินพุตเอาต์พุตทั้งดิจิตอลและอนาลอกจำนวนหลายจุดสำหรับอินเวอร์เตอร์หนึ่งตัว  แต่ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ยุคที่อุปกรณ์ต่างๆในกระบวนการผลิตสามารถเชื่อมต่อกันผ่านระบบสื่อสาร ซึ่ง Ethernet เป็นหนึ่งในระบบการสื่อสารที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการสื่อสารภาคการผลิตและเป็นระบบการสื่อสารหลักที่ใช้กับระบบ IT เช่นกัน  จะว่าไปแล้ว OT (Operation Technology) กับ IT(Information Technology) กำลังผสานกันเป็นหนึ่งเดียวผ่าน Ethernet ต่อไปนี้เราจะอธิบายถึงการนำ PLC ขนาดเล็กไปควบคุมอินเวอร์เตอร์โดยผ่าน Ethernet ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถลดจำนวนสายสัญญาณระหว่าง PLC กับอินเวอร์เตอร์ได้  และการทำก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิดผู้เขียนกลับมองว่ามันง่ายกว่าวิธีการเดิมเสียด้วยซ้ำ รูปข้างล่างนี้แสดงตัวอย่างการต่อ Micro850 ซึ่งเป็น PLC ขนาดเล็กของ Allen-Bradley กับ PowerFlex 525 และแสดง IP address ของอุปกรณ์แต่ละตัว จากรูปข้างบนจะเห็นว่า […]

System

4 November 2019

สื่อสารผ่าน Modbus TCP/IP

 การสื่อสารผ่าน Modbus TCP/IP โปรโตคอลยอดนิยมที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในวงการอุตสาหกรรมคงหนีไม่พ้น Modbus ซึ่งมีทั้ง Modbus RTU และ Modbus TCP ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีโปรโตคอลอื่นๆที่มีสมถรรนะที่ดีกว่า Modbus มากมาย  แต่ Modbus ก็ยังเป็นโปรโตคอลคลาสสิคและได้รับความนิยมจนถึงทุกวันนี้  ซึ่งโปรโตคอล Modbus ได้รับการพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 โดย Modicon Incorporated เพื่อใช้กับระบบควบคุมอัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรมและคอนโทรลเลอร์    และมันได้กลายเป็นวิธีการมาตรฐานในอุตสาหกรรมสำหรับการถ่ายโอนข้อมูลแบบ on/off และแบบอนาลอกตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อุปกรณ์ที่สื่อสารด้วย Modbus โดยใช้วิธีการ Master-Slave (หรือ Client-Server) จะมีอุปกรณ์เพียงตัวเดียวซึ่งคือ Master (หรือ Client) สามารถเริ่มต้นการสื่อสารได้เท่านั้น (queries)  ส่วนอุปกรณ์ตัวอื่น ๆ จะทำหน้าที่เป็น Slaves (หรือ servers) จะตอบสนองต่อการสื่อสารนั้น โดย Slave จะส่งข้อมูลที่ร้องขอกลับไปยัง Master หรือโดยการดำเนินการบางอย่างตามที่ Master ร้องขอ […]

System

4 November 2019

ระบบแอร์ตู้คอนโทรล

ระบบระบายความร้อนตู้คอนโทรล วันที่เขียนบทความนี้เป็นวันที่อากาศร้อนมากๆวันหนึ่ง  เรียกว่าร้อนตับแตกกันเลยล่ะจนทำให้ผมสงสารตัวเองที่ต้องเจอกับอากาศร้อนๆแบบนี้และก็อดสงสัยไม่ได้ว่าพวกอุปกรณ์ควบคุมที่อยู่กันอย่างแออัดในตู้นั้นมันจะเป็นยังงัยกันบ้าง  ถึงแม้พวกมันจะไม่มีชีวิตแต่ความร้อนก็ส่งผลกระทบต่อพวกมันได้อาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตในโรงงานของคุณได้  จึงเป็นที่มาของคำถามที่ว่า ทำไมการระบายความร้อนจึงสำคัญสำหรับตู้คอนโทรลของคุณ เป็นเรื่องปกติที่ผู้ออกแบบระบบควบคุมอุตสาหกรรมมักมองข้ามความสำคัญของการระบายความร้อนของตู้  ด้วยเหตุนี้ตู้ควบคุมจำนวนมากได้รับการออกแบบมาเพื่อการระบายอากาศตามธรรมชาติและไม่ได้พิจารณาผลกระทบของอุณหภูมิแวดล้อมกับความร้อนที่เกิดขึ้นจากอุปกรณ์ภายในตู้  ส่งผลให้ไม่สามารถรักษาอุณหภูมิภายในของตู้ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ ผลที่ตามมาก็คืออุปกรณ์อาจร้อนเกินไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีอากาศร้อนเช่นนี้  ทำให้ความเสี่ยงที่อุปกรณ์จะทำงานล้มเหลวเพิ่มขึ้นและอายุการใช้งานของอุปกรณ์สั้นลงเร็วกว่ากำหนด  ความเสี่ยงนี้สามารถลดลงได้หากมีการตรวจสอบอุณหภูมิของตู้ควบคุมและติดตั้งระบบระบายความร้อนที่เหมาะสมถ้าจำเป็น ทำไมตู้คอนโทรลร้อน? อุณหภูมิของตู้ควบคุมอุตสาหกรรมนั้นมีความสัมพันธ์โดยตรงกับอัตราความร้อนที่เกิดขึ้นภายในตู้จากอุปกรณ์ต่างๆ  การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า พีแอลซีและไดร์ฟที่เพิ่มขึ้นก็จะยิ่งสร้างความร้อนมากขึ้น  นี่คือที่มาของการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นซึ่งจะสร้างความร้อนจำนวนมาก นอกจากนั้นแนวโน้มการลดขนาดตู้ให้เล็กลงโดยอัดอุปกรณ์ต่างๆเข้าไปในตู้ยิ่งส่งผลให้สร้างความร้อนมากขึ้นเช่นกัน ในขณะที่พื้นที่ระบายความร้อนน้อยลง ผลที่ตามมาของการระบายความร้อนไม่เพียงพอ ความสามารถของอุปกรณ์ควบคุมที่จะทำงานได้ดีในขณะอุณหภูมิสูงนั้นแตกต่างกันอย่างมาก แม้ว่าผู้ผลิตจะบอกว่าอุปกรณ์เหล่านั้นสามารถใช้งานในที่อุณหภูมิสูงได้   แต่ต้องเข้าใจว่าอายุการใช้งานของอุปกรณ์เหล่านั้นคงสั้นลง นอกจากนั้นอุปกรณ์ที่มีความละเอียดอ่อนอาจมีความคลาดเคลื่อนจากที่ควรจะเป็นทำให้การควบคุมผิดพลาด  และเป็นเรื่องไม่ปกติแน่นอนที่อุปกรณ์ควบคุมด้วยไมโครโปรเซสเซอร์ เช่น PLC จะทำงานได้ดีในสภาวะอุณหภูมิสูง ปัจจัยการทำความเย็นที่สำคัญ วิธีการที่ใช้ในการระบายความร้อนของตู้ควบคุมอุตสาหกรรมเพื่อให้มั่นใจได้ว่าอุณหภูมิภายในของตู้ควบคุมเป็นไปตามที่ต้องการและหลีกเลี่ยงความร้อนที่ไม่คาดคิดจะเข้ามากระทบ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ ขั้นตอนแรกจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องประเมินอุณหภูมิสูงสุดที่สามารถรับได้ภายในตู้  อุณหภูมิที่เลือกควรจะพอเหมาะกับสภาพแวดล้อมเพราะสิ่งนี้ช่วยให้มั่นใจว่าการทำงานจะไม่มีปัญหาและโดยทั่วไปอุณหภูมินี้ไม่ควรเกิน 35 °C ขั้นตอนต่อไปคือการประเมินปริมาณความร้อนที่เกิดขึ้นภายในตู้ ข้อมูลการสร้างความร้อนของอุปกรณ์ต่างๆนั้นสามารถหาได้จากผู้ผลิตอุปกรณ์ จากนั้นคำนวณภาระความร้อนทั้งหมดในรูปวัตต์  เช่น VFD มีประสิทธิภาพ 95% แสดงว่ามี Loss ประทาณ 5% ซึ่ง Loss นี้จะอยู่ในรูปของความร้อนถ้าอินเวอร์เตอร์มีขนาด 100 วัตต์ และทำงานที่เต็มกำลังก็จะมี Loss เท่ากับ 5 […]

System

4 October 2019

ปัญหาไฟตก ไฟกระพริบ (Voltage sag)

ปัญหาไฟตก ไฟกระพริบ (Voltage sag) แรงดันไฟตกชั่วขณะ(ชั่วคราว)เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและส่งผลกระทบต่อคุณภาพไฟฟ้า ซึ่งทำให้เกิดสูญเสียในการผลิตโดยไม่จำเป็น  อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในระบบควบคุมอัตโนมัติ เช่น PLC, AC drive และ Robot รวมทั้งรีเลย์และคอนแทคเตอร์ด้วย ล้วนเป็นอุปกรณ์ที่มีความอ่อนไหวต่อแรงดันไฟตกชั่วขณะ แรงดันไฟฟ้าตกชั่วขณะคืออะไร? ตามมาตรฐาน IEC 61000-4-30 กล่าวไว้ว่า แรงดันไฟฟ้าตกชั่วขณะ คือ การที่แรงดันไฟฟ้าลดลงเกิน 10% จากค่าแรงดันไฟปกติเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ตั้งแต่ 1/2 cycle ถึง 1 นาที  ตัวอย่างเช่น แรงดันไฟปกติ 220 V แรงดันไฟตก 10% จะมีค่าเท่ากับ 198 V แรงดันไฟตกชั่วขณะมีสาเหตุจากอะไร? เมื่อเกิดแรงดันไฟตกชั่วขณะเรามักคิดว่าปัญหาน่าจะเกิดจากระบบการจ่ายไฟจากผู้ผลิตไฟฟ้า  อย่างไรก็ตามแรงดันไฟตกชั่วขณะอาจเกิดจากอุปกรณ์ภายในโรงงานของเราเองได้เช่นกัน  ดังนั้น ปัญหาคุณภาพไฟฟ้าอาจเกิดได้ทั้งภายในโรงงานและนอกโรงงาน ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องหาแหล่งที่ก่อให้เกิดปัญหาแรงดันไฟตกชั่วขณะให้ได้ ในกรณีที่เกิดจากภายนอกโรงงานอาจเกิดจากคนหรือธรรมชาติก็ได้เช่น ฟ้าผ่า  พายุ ต้นไม้ล้มทับสายไฟ หรือแม้แต่อุบัติเหตุรถชนเสาไฟฟ้าก็เป็นสาเหตุให้เกิดแรงดันไฟฟ้าตกชั่วขณะได้ การแก้ปัญหาแรงดันไฟตกชั่วขณะ เราสามารถป้องกันและลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากแรงดันไฟตกชั่วขณะได้หลายวิธี แต่วิธีที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมสามารถแสดงได้ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้ […]

System

4 October 2019

ความแตกต่างระหว่าง TCP กับ UDP

  ความแตกต่างระหว่าง TCP กับ UDP TCP คือ อะไร? TCP ย่อมาจาก Transmission Control Protocol เป็นหนึ่งในโปรโตคอลหลักของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  ทำหน้าที่ควบคุมการรับส่งข้อมูลระหว่างผู้ส่งกับผู้รับ เพื่อใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน โดยมีการตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกแพ็กเก็ตที่จัดส่งไปยังปลายทางนั้นเป็นไปตามลำดับที่ถูกต้องตามที่ต้นทางส่งออกมา ด้วยการสร้างการเชื่อมต่อระหว่างสองฝั่ง ทั้งผู้ส่งและผู้รับ ดังนั้นข้อมูลที่แลกเปลี่ยนกันจะมีความน่าเชื่อถือสูงและประกันความถูกต้อง UDP คือ อะไร? UDP ย่อมาจาก User Datagram Protocol เป็นโปรโทคอลหลักในชุดโปรโทคอลอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า Datagram ซึ่งเป็นข้อมูลขนาดเล็กกว่าส่งผ่านเครือข่ายไปยังเครื่องปลายทาง  แต่ UDP จะไม่รับประกันความน่าเชื่อถือของข้อมูลและลำดับของ Datagram ในขณะที่ TCP จะรับประกันความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งหมายความว่า Datagram อาจมาถึงไม่เรียงลำดับหรือสูญหายได้ ทั้ง TCP และ UDP ต่างก็เป็นโปรโตคอลที่ใช้สำหรับการส่งรับข้อมูลเป็นแบบแพ็คเก็จในระบบสื่อสารบน Ethernet  โดยปกติ TCP และ UDP จะทำงานโดยการอ้างอิง IP(Internet Protocol) ซึ่งนิยมเรียกว่า […]

System

4 October 2019

Warning: Undefined array key "offset_start" in /newdata/vhosts/sonicautomation.co.th/httpdocs/wp-content/themes/plant/inc/template-tags.php on line 122
1 9 10 11 14