เซอร์โวมอเตอร์ (servo motor) ตอนที่ 4 (การเลือก IP เซอร์โวมอเตอร์ให้เหมาะกับงาน)

เซอร์โวมอเตอร์ (servo motor) ตอนที่ 4 การเลือก IP Rating เซอร์โวมอเตอร์ให้เหมาะกับงาน วันนี้ขอแชร์ประสบการณ์ที่ลูกค้าของเราเลือกใช้เซอร์โวมอเตอร์ไม่เหมาะสมกับสถาพแวดล้อมซึ่งส่งผลให้มันสามารถใช้งานได้เพียง 4-5 เดือนเท่านั้น  ปัญหาที่เกิดกับเซอร์โวมอเตอร์ในกรณีนี้ คือ Encoder error ซึ่งเราคาดการณ์ว่าน่าจะเกิดจาก Electric noise เพราะค่าเอ็นโค้ดเดอร์ที่อ่านได้ไม่เสถียร  แต่มันผิดคาดเพราะสาเหตุที่ทำให้เอ็นโค้ดเดอร์อ่านผิดพลาด คือ น้ำที่อยู่ในตัวเอ็นโค้ดเดอร์นั่นเอง  ที่ทราบเช่นนี้เพราะได้เปิดฝาปิดของเอ็นโค้ดเดอร์ออกเพื่อตรวจสอบจึงพบว่ามีน้ำจำนวนมากอยู่ภายในดังแสดงในรูปข้างล่างนี้ มอเตอร์ตัวนี้เป็นรุ่นปกติมี IP30 และไม่มี shaft seal จึงทำให้น้ำสามารถเข้าไปได้ ดังนั้นเวลาสั่งซื้อมอเตอร์จึงจำเป็นต้องพิจารณาสภาพแวดล้อมการทำงานของมอเตอร์ด้วยว่ามอเตอร์ที่เลือกใช้งานนั้นเหมาะสมหรือไม่ เราจะทราบได้อย่างไรว่าเลือกมอเตอร์เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมการใช้งาน  ซึ่งสิ่งที่ต้องพิจารณาก็คือ IP rating ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จัก IP rating กันก่อนว่ามัน คืออะไร?  IP (International Protection) ใช้เพื่กำหนดให้ผู้ผลิตเช่น Rockwell Automation ทำการทดสอบผลิตภัณฑ์ของตัวเองว่าสามารถใช้ในงานและทนทานในสภาพแวดล้อมต่างๆได้ในระดับใด  รหัส IP ถูกระบุโดยใช้ตัวเลขสองตัว ตัวอย่างเช่น IP67 ตัวเลขแรกคือการป้องการวัตถุแข็ง (Solid Particle […]

Sonic Automation

15 February 2022

Modern DCS

PlantPAx ยุคใหม่ของ DCS Distributed Control System หรือที่เรียกย่อๆว่า DCS คือ ระบบควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับโปรเซส (Process) ที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีลูปการควบคุมจำนวนมาก ซึ่งตัวควบคุมอัตโนมัติ (Controller) จะกระจายไปทั่วทั้งระบบ โดยไม่มีการควบคุมจากส่วนกลางซึ่งตรงกันข้ามกับระบบที่ใช้ตัวควบคุมแบบรวมศูนย์ (Centralized control system) DCS ทั่วไปมีคุณลักษณะที่ยอดเยี่ยมบางอย่างสำหรับการควบคุม Process ซึ่งมีชุดคำสั่ง Process ครอบคลุมทุกการใช้งาน และมี HMI ที่เป็นมิตรกับผู้ใช้ อัลกอริธึมการควบคุมการใช้กำลังไฟฟ้า สร้างระบบ Redundancy ได้ง่าย เครื่องมือการจัดการสัญญาณเตือนและคุณสมบัติอื่น ๆ อีกมากมาย คุณลักษณะเหล่านี้ทำให้ DCS เป็นโซลูชันที่ยอดเยี่ยมสำหรับการใช้งานใน Continuous process ขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม DCS ก็มีข้อจำกัดและมักจะไม่สามารถปรับขนาดได้ง่ายเพื่อการใช้งานที่หลากหลาย  นอกจากนี้ยังอาจมีปัญหากับการควบคุมที่ต้องการความเร็วสูง  นอกจากนั้น System integrator ที่รองรับงานก็มีจำนวนจำกัด สำหรับวันนี้เราจะขอแนะนำ PlantPAx® ซึ่งเป็น DCS ยุคใหม่จาก Rockwell […]

Sonic Automation

24 November 2021

ทำไม VFD หรือ Inverter จึงเกิด Fault ?

สาเหตุที่ทำให้ VFD หรือ Inverter เกิด Fault ? เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าอุปกรณ์ที่นิยมใช้เพื่อปรับความเร็วรอบมอเตอร์ในโรงงานอุตสาหกรรม คือ Variable Frequency Drive (VFD) หรือหลายๆคนเรียก Inverter สิ่งแรกที่ควรรู้เมื่อซื้อ VFD มาใช้งาน คือ ความสะอาด ความเย็น และความชื้นต้องต่ำ เป็นสิ่งที่ต้องพึ่งระวังหากปฏิบัติตามคำแนะนำสามข้อนี้ อายุของ VFD จะยืดออกไปอย่างมาก บทความนี้จะกล่าวครอบคลุมถึงสาเหตุทั่วไปบางประการที่ทำให้ VFD ทำงานความล้มเหลวหรือเกิด Fault นั่นเอง และอาจก่อให้เกิดความเสียหายกับ VFD เองได้ถ้าปํญหาไม่ได้รับการแก้ไข นอกจากนั้นเราจะให้คำแนะนำเพื่อป้องกันไม่ให้ VFD มีอายุสั้นเกินควร สิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม VFD ถูกสร้างขึ้นด้วยอุปกรณ์อีเลคทรอนิคส์ มีไมโครโปรเซสเซอร์ทำหน้าที่ประมวลผลคล้ายกับคอมพิวเตอร์ และมีความอ่อนไหวอย่างยิ่งต่อฝุ่นละออง ความชื้น และความร้อนที่สูงเกินไป หากคุณกำลังใช้ VFD ในบริเวณที่มีฝุ่นละอองมาก หรือความชื้นสูงอย่างต่อเนื่อง อายุการใช้งานของ VFD จะสั้นลงอย่างแน่นอน ในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง เช่น โรงบำบัดน้ำเสีย และน้ำประปา […]

System

4 August 2021

Building Information Modelling

การสร้างแบบจำลองข้อมูลอาคารนำไปสู่การร่วมงานระหว่าง ABB และ Sonepar การสร้างแบบจำลองข้อมูลอาคาร (Building Information Modelling, BIM) กำหนดแนวทางการทำงานร่วมกันภายใต้เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งช่วยปลดล็อกวิธีการออกแบบและดำเนินงานโครงการก่อสร้างให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เรากำลังเห็นการนำ BIM ไปปรับใช้อย่างรวดเร็วโดยผู้เล่นหลักในอุตสาหกรรมของเรา มีแรงจูงใจหลักสองประการที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงนี้: ประการแรกคือประโยชน์ที่ BIM สร้างขึ้นนั้นไม่เพียงแค่ลูกค้า แต่ยังรวมถึงห่วงโซ่อุปทานทั้งหมดด้วย ประการที่สองคือความสามารถของ BIM ในการส่งเสริมความโปร่งใสและการทำงานร่วมกันระหว่างซัพพลายเออร์มากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดการสูญเสียวัสดุตลอดทุกขั้นตอนของกระบวนการ นอกจากข้อดีหลักสองข้อนี้แล้ว BIM ยังช่วยให้เกิดความสม่ำเสมอ เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเวลาและการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เพิ่มผลผลิต ขจัดความเสี่ยง รวมถึงอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงานทุกคนที่เกี่ยวข้องในกระบวนการก่อสร้าง ในขณะที่สามารถคาดการณ์การลดต้นทุนตลอดอายุการใช้งานได้ ABB สนับสนุนพันธมิตรให้ผ่านประสบการณ์ BIM และได้สร้าง e-learning สำหรับทุกคนที่ต้องการสร้างความคุ้นเคยกับกระบวนการก่อนที่จะนำไปใช้งานกับโครงการของตนเอง  Technische Unie ได้เพิ่งหน้าแรกบนเว็บไซต์ของพวกเขาเกี่ยวกับ BIM และสร้างปลั๊กอินที่ลูกค้าดาวน์โหลดได้ และให้สิทธิ์เข้าถึงแค็ตตาล็อก ABB BIM เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานต่างๆ ด้วยความร่วมมือของ Sonepar กับ ABB ช่วยให้ e-Learning นี้เป็นประโยชน์ต่อลูกค้าของบริษัท ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์อาคารอัจฉริยะ Paolo […]

System

29 June 2021

เซอร์โวมอเตอร์ (servo motor) ตอนที่ 3 (การเลือกขนาดเซอร์โวมอเตอร์)

เซอร์โวมอเตอร์ (servo motor) ตอนที่ 3(การเลือกขนาดมอเตอร์) การเลือกขนาดเซอร์โวมอเตอร์ให้เหมาะสมกับงานนั้นยากกว่าการเลือกขนาดอินดักชั่นมอเตอร์แบบทั่วไป  เพราะไม่เพียงแต่ต้องคำนึงถึงอัตราเร่งความเร็ว อัตราการชะลอตัวและแรงบิดในการขับโหลดเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความสามารถของเซอร์โวมอเตอร์ในการควบคุมความเร็ว ตำแหน่งหรือแรงบิด  ซึ่งเราต้องคำนวณแรงบิดสูงสุด(peak torque) อัตราเร่งความเร็วและอัตราชลอความเร็ว  ตลอดจนแรงบิดขณะขับโหลดปกติ(normal torque) นอกจากนี้ต้องคำนวณความเฉื่อย(inertia)ของระบบ (Inertia คือ ความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงความเร็ว) เพื่อให้แน่ใจว่ามอเตอร์ไม่ร้อนเกินไปในระหว่างการใช้งาน นอกจากนี้การจับคู่ความเฉื่อยระหว่างมอเตอร์และโหลดเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่ามีการตอบสนองและประสิทธิภาพของระบบที่เหมาะสม ต่อไปเราจะตรวจสอบปัจจัยสำคัญเหล่านี้ เพื่อใช้ประกอบการเลือกขนาดมอเตอร์ให้เหมาะสมกับงาน INERTIA RATIO ปัจจัยที่สำคัญประการแรก คือ อัตราส่วนความเฉื่อย(Inertia ratio) วัตถุที่หมุนใดๆ ต้องมีความเฉื่อย ความเฉื่อยคือความต้านทานการเปลี่ยนความเร็วในการหมุนของวัตถุนั้น ความเฉื่อยทั้งหมดของระบบเซอร์โวมอเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ความเฉื่อยของมอเตอร์ และ ความเฉื่อยของโหลด ความเฉื่อยของมอเตอร์(Motor inertia) JM จะระบุไว้ในแคตตาล็อกของผู้ผลิต  ส่วนความเฉื่อยของโหลด(Load inertia) JL มักประกอบด้วยหลายชิ้นส่วนที่ประกอบเข้าด้วยกัน ทุกองค์ประกอบที่ถูกขับด้วยมอเตอร์จะถูกรวมกันเป็นความเฉื่อยของโหลดทั้งหมด  ซึ่งต้องใช้การคำนวณต่างๆ เพื่อให้ได้ค่าความเฉื่อยขององค์ประกอบทั้งหมดนั้น Inertia ratio = JL/JM  โดยทั่วไปอัตราส่วนความเฉื่อย 5: 1 […]

System

24 February 2021

Warning: Undefined array key "offset_start" in /newdata/vhosts/sonicautomation.co.th/httpdocs/wp-content/themes/plant/inc/template-tags.php on line 122
1 2 3 9