เทคนิคการรวบรวมข้อมูลจากสายการผลิตสู่ Big Data

เทคนิคการรวบรวมข้อมูลจากสายการผลิตสู่ Big Data การก้าวสู่ยุค Industry 4.0 ด้วยเทคโนโลยี IIoT (Industrial Internet of Things) ถือว่าเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่ง Big Data ถือเป็นเทรนด์สำคัญในยุคนี้เช่นกัน  ถ้าแปลแบบตรงตัว Big Data คือ ข้อมูลจำนวนมหาศาลที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์กร โรงงาน หรือโลกดิจิทัลในระบบเครือข่ายต่างๆ นั่นเอง ในบทความนี้เราจะไม่ขอกล่าวถึงความสำคัญและประโยชน์ของ Big Data  แต่เราจะกล่าวเฉพาะการรวบรวม Big Data ที่ได้จากการผลิตในโรงงานเท่านั้น โดยปกติ Big Data จะถูกจัดเก็บไว้ในรูปแบบ Database ของโรงงานหรืออยู่บนระบบ Cloud ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการขององค์กรนั้นๆ  สิ่งที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้จะเน้นที่การส่งข้อมูลจาก Controller(เช่น PLC, DCS และ HMI) ในระบบการผลิตเข้าสู่ Database ของระบบ IT โดยตรง  ซึ่งทั้ง 2 ทำงานบนแพลตฟอร์มและจุดประสงค์การใช้งานที่ต่างกัน  ในทางปฏิบัติจะมีเทคนิคหลากหลายรูปแบบที่สามารถทำให้ข้อมูลที่อยู่ในสายการผลิตถูกส่งตรงขึ้นไปยัง […]

System

23 May 2020

เซฟตี้รีเลย์ (Safety relay) ทำงานอย่างไร

เซฟตี้รีเลย์ (Safety relay) ทำงานอย่างไร เซฟตี้รีเลย์ทำงานอย่างไรและทำไมต้องใช้เซฟตี้รีเลย์ ต่อไปเรามาไขความกระจ่างกัน เซฟตี้รีเลย์ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับระบบ Machine safety ที่ขาดเสียมิได้  เพราะถือว่าเป็นอุปกรณ์เซฟตี้ที่ใช้อยู่ในอุปกรณ์ประเภท Logic Device เช่น Monitoring Safety Relay หรือนำไปใช้เป็น Output Device ก็ได้ ก่อนที่เราจะทำความรู้จักกับเซฟตี้รีเลย์เรามาดูหลักการทำงานเบื้องต้นของรีเลย์ที่ใช้สำหรับงานคอนโทรลทั่วไปกันก่อน จากรูปที่ 1 แสดงโครงภายในของรีเลย์แบบใช้งานทั่วไป ซึ่ง Armature จะทำหน้าที่ให้หน้าคอนแทคสับเปลี่ยนตำแหน่งโดยอาศัยสนามแม่เหล็กจากคอยล์แม่เหล็กไฟฟ้า   ส่วนรูปที่ 2 แสดงหน้าคอนแทคภายในของรีเลย์รุ่น 2 คอนแทค จากรูปจะเห็นว่าหน้าคอนแทคทั้ง 2 จะถูก Armature ขับเคลื่อนไปด้วยกัน ดังนั้นหน้าคอนแทคทั้ง 2 จะเปิดหรือปิดวงจรพร้อมๆกัน  เมื่อจ่ายไฟเข้าคอยล์จะทำให้คอนแทคทั้ง 2 ปิดวงจร และเมื่อหยุดจ่ายไฟเข้าคอยล์เกิดมีหน้าคอนแทคตัวใดตัวหนึ่งเกิดการหลอมติดกันมันจะค้างการปิดวงจรอยู่เช่นนั้น  แต่หน้าคอนแทคอีกตัวหนึ่งจะกลับไปสู่สภาวะปกติ(NC) ก่อนการจ่ายไฟ คราวนี้เราลองมาดูโครงสร้างของเซฟตี้รีเลย์กันบ้างดังแสดงในรูปที่ 3 สิ่งที่แตกต่างจากรีเลย์ใช้งานทั่วไปคือหน้าคอนแทค NO และ NC จะมี […]

System

21 April 2020

หลักการทำงานของเซนเซอร์ม่านแสงนิรภัย(Safety light curtain)

หลักการทำงานของเซนเซอร์ม่านแสงนิรภัย(Safety light curtain) เซนเซอร์ม่านแสงนิรภัย(Safety light curtain) คือ อุปกรณ์เซฟตี้ที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์ มักพบการใช้งานกับเครื่องปั๊มโลหะ และเครื่องจักรที่ผู้ปฏิบัติงานต้องเข้าถึงจุดเสี่ยงค่อนข้างบ่อย  เราอาจอธิบายอย่างง่ายว่าเซนเซอร์ม่านแสงนิรภัยเป็นโฟโตอิเล็กทริกเซ็นเซอร์ชนิดหนึ่งที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อปกป้องบุคคลจากการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นจากเครื่องจักร หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า AOPDs (Active Opto-electronic Protective Devices) หรือ ESPE (Electro Sensitive Protective Equipment)  เซนเซอร์ม่านแสงนิรภัยให้ความปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงานแต่ให้ผลิตภาพ(productivity)ที่มากกว่าระบบอื่นๆ ทั้งนี้ต้องติดตั้งและประกอบวงจรควบคุมให้สอดคล้องตามการประเมินความเสี่ยงที่ได้จัดทำไว้   หลักการทำงาน เซนเซอร์ม่านแสงนิรภัยประกอบด้วยตัวส่ง (Emitter) และตัวรับ (Receiver) ที่สร้างลำแสงอินฟราเรดหลายลำแสง โดยปกติจะนำไปติดตั้งอยู่ด้านหน้าหรือรอบๆ พื้นที่อันตราย ตัวส่งจะถูกซิงโครไนซ์กับตัวรับด้วยลำแสงของโฟโตอิเล็กทริกที่อยู่ปลายสุดของตัวเซนเซอร์  นอกจากนั้นมันจะกำจัดการรบกวนจากแสงโดยรอบและสัญญาณรบกวน (crosstalk) จากเซนเซอร์ม่านแสงนิรภัยตัวอื่นๆ  โดย LED ในตัวส่ง(emitter) จะสร้าง Pulse ในอัตราคงที่ (frequency modulated) และ LED แต่ละตัวจะสร้าง Pulse เรียงลำดับกันเพื่อให้ตัวส่ง(emitter) ตัวหนึ่งสามารถส่งแสงให้ตัวรับเฉพาะตัวที่เกี่ยวข้องกับมันเท่านั้น  เมื่อลำแสงทั้งหมดถูกตรวจสอบแล้วมันจะเริ่มต้นใหม่อีกรอบและทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ  ในรูปที่ 1 […]

System

21 April 2020

เทคนิคการต่อเซ็นเซอร์(Sensor) กับ PLC

เทคนิคการต่อเซ็นเซอร์(Sensor) กับ PLC ปกติแล้วการต่อเซ็นเซอร์(sensor) กับ PLC ต้องพิจารณาที่ชนิดเอาต์พุตโดยสามารถแบ่งตามการไหลของกระแสไฟเอาต์พุตได้ 2 ชนิด คือ Sinking และ Sourcing    วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันถึงการใช้งานเอาต์พุตทั้ง 2 ชนิดนี้  สิ่งที่ควรจำ คือ เอาต์พุตชนิด Sinking กระแสไฟจะไหลจากภายนอกเข้าสู่ขั้วเอาต์พุตของเซ็นเซอร์และผ่านไปยังขั้วคอมมอน (Common)     ในขณะที่เซ็นเซอร์แบบ Sourcing กระแสไฟจากแหล่งจ่ายไฟบวกไหลผ่านออกไปที่ขั้วเอาต์พุตสู่โหลดภายนอก  เอาต์พุตทั้งสองชนิดนี้จะเน้นที่ทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้าไม่ใช่แรงดัน ซึ่งวิธีการกำหนดการไหลของกระแสไฟแทนแรงดันไฟจะช่วยลดปัญหาสัญญาณรบกวนได้ดีกว่า เมื่อกล่าวถึง Sinking และ Sourcing เรากำลังอ้างถึงเอาต์พุตของเซ็นเซอร์ที่ทำงานคล้ายกับสวิตช์ตัวหนึ่ง   แต่ในความเป็นจริงแล้วเอาต์พุตของมัน คือ ทรานซิสเตอร์ตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่เหมือนสวิตช์   โดยทรานซิสเตอร์ชนิด NPN ถูกใช้กับเอาต์พุต Sinking และ PNP ถูกใช้กับเอาต์พุต Sourcing บางครั้งเราอาจเรียกว่าเอาต์พุตแบบ NPN และ PNP ตามลำดับ ตัวอย่างของเซ็นเซอร์ชนิดเอาต์พุต Sinking(NPN) แสดงในรูปที่ 1 เซ็นเซอร์จะใช้แหล่งจ่ายไฟภายนอกเพื่อให้มันสามารถตรวจจับวัตถุและทำงานได้    เมื่อตรวจจับวัตถุได้มันจะส่งสัญญาณกระตุ้นให้ทรานซิสเตอร์ NPN […]

System

22 February 2020

Edge computing คือ อะไร และประโยช์นกับ IoT

Edge computing คือ อะไร และประโยช์นกับ IoT เมื่อพูดถึง Edge computing หลายคนอาจจะไม่รู้ว่ามันคืออะไร ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับ Cloud computing ซึ่งปัจจุบันไปที่ไหนก็มีคนพูดถึงแต่คลาวด์ (Cloud) เนื่องจากข้อมูลข่าวสารที่เพิ่มมากขึ้น ความซับซ้อนที่มากขึ้น ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นจากการลงทุนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ การดูแลรักษารวมทั้งต้องใช้บุคลากรผู้เชี่ยวชาญ  จึงทำให้ Cloud Computing ได้รับความนิยมในยุค IoT ทั้งภาคธุรกิจขององค์กร และกำลังเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในภาคการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม  ซึ่งคลาวด์จะอาศัยเครือข่าย Internet ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลเมื่อไรหรือที่ใดๆ ก็ได้   การนำคลาวด์เข้ามาใช้กับภาคการผลิตอาจมีข้อแตกต่างจากการใช้กับข้อมูลระดับบนขององค์กร เนื่องจากข้อมูลในภาคการผลิตจะอ้างอิงกับเวลาที่เรียกว่า Real Time ถ้าเราส่งข้อมูลเหล่านี้ขึ้นคลาวด์โดยปราศจากการคัดกรองและจัดเตรียมข้อมูล  จะทำให้ต้องส่งข้อมูลจำนวนมหาศาลขึ้นคลาวด์โดยไม่จำเป็น  ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิด Edge Computing ขึ้น แล้ว Edge computing คืออะไร?  แท้จริงมัน คือ การประมวลผลที่ขอบ (ของเครือข่าย) ซึ่งอาจจะอยู่ตรงไหนก็ได้ระหว่างอุปกรณ์นอกสุด (End devices) ซึ่งจะทำหน้าที่เก็บข้อมูลและประมวลผลข้อมูลที่อยู่ใกล้กับแหล่งข้อมูลให้มากที่สุด ข้อมูลอาจถูกวิเคราะห์หรือจัดรูปแบบเชิงสถิติ  หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นการนำข้อมูลมาประมวลผลที่ต้นทางที่ใกล้กับแหล่งข้อมูลมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ […]

System

17 February 2020

Warning: Undefined array key "offset_start" in /newdata/vhosts/sonicautomation.co.th/httpdocs/wp-content/themes/plant/inc/template-tags.php on line 122
1 4 5 6 9