RFID สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต

RFID สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต ผู้ผลิตส่วนใหญ่ในภาคอุตสาหกรรมตระหนักถึงประโยชน์ที่ได้รับจาก RFID (Radio Frequency IDentification) ในระบบซัพพลายเชนเป็นอย่างดี แต่พวกเขามักมองข้ามโอกาสในการประยุกต์เทคโนโลยี RFID สำหรับกระบวนการผลิต  RFID สามารถรับมือกับความท้าทายด้านการผลิตได้มากมาย เช่น การควบคุมคุณภาพ ควบคุมการผลิตและการจัดการสินทรัพย์ เมื่อต้องนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในสภาพแวดล้อมอุตสาหกรรมสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือ สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้ไหม ผู้ผลิตที่ได้รับข้อมูลและใช้ประโยชน์ของข้อมูลจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของตัวเองได้ โรงงานอัจฉริยะในอนาคตจะพึ่งพาทั้งเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต(IoT)และเทคโนโลยีอื่น เช่น RFID ซึ่งจะช่วยให้สิ่งต่างๆ(things) เช่น ส่วนประกอบ ชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ สามารถสื่อสารแบบเรียลไทม์ผ่านคลื่นวิทยุกับระบบการผลิตที่อยู่บนคลาวด์ การลงทุนกับระบบ RFID สำหรับกระบวนการผลิต  โดยทั่วไปน่าจะสร้างผลตอบแทนจากการลงที่ดีกว่าเนื่องจากสามารถใช้ RFID เก็บข้อมูลต่างๆ ในกระบวนการผลิตแล้วสามารถนำวนกลับมาใช้งานได้ใหม่ นอกจากนั้น RFID สามารถลดช่องว่างระหว่างระบบ MES(manufacturing execution systems) ระบบ ERP(enterprise resource planning) กับสายการผลิตในโรงงาน เทคโนโลยี RFID ช่วยให้รวบรวมข้อมูลที่แม่นยำ ทันเวลาและให้รายละเอียดมากกว่าวิธีการอื่น ๆ สำหรับอุตสาหกรรมในประเทศไทยได้มีการประยุกต์ใช้งาน RFID ในระบบการผลิตมานานกว่า 20 ปี […]

System

5 July 2020

การเลือกใช้ Proximity sensor ให้เหมาะกับงาน

การเลือกใช้ Proximity sensor ให้เหมาะกับงาน พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ (Proximity sensor) สามารถตรวจจับวัตถุได้โดยไม่ต้องสัมผัสกับวัตถุ ดังนั้นจึงนิยมใช้งานกันอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมโดยมีให้เลือกใช้งานอยู่ 2 ชนิด คือ Inductive proximity sensor สำหรับใช้ตรวจจับโลหะ ซึ่งมีหลักการทำงานเบื้องต้นด้วยการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือ Capacitive proximity sensor ที่สามารถตรวจจับได้ทั้งโลหะและอโลหะแต่นิยมใช้ในการตรวจจับอโลหะมากกว่า ซึ่งอาศัยหลักการของสนามไฟฟ้า ดังนั้นการเลือกใช้ Proximity sensor ให้ถูกประเภทและเหมาะสมกับงานจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญเพราะถ้าเลือกไม่ถูกต้องอาจใช้งานได้ไม่ดีหรือชำรุดเสียหายเร็วกว่าปกติ ต่อไปเราจะกล่าวถึงสิ่งที่ต้องพิจารณาในการเรื่องใช้ Proximity sensor ข้อพิจารณาที่ 1: ระยะตรวจจับที่ต้องการ? ระยะตรวจจับคือระยะห่างระหว่างปลายของเซ็นเซอร์กับวัตถุที่จะตรวจจับ เราสามารถดูได้จากตารางข้อมูลจำเพาะของเซ็นเซอร์แต่ละรุ่นจากผู้ผลิต สิ่งที่ควรระวัง: ในหลายกรณีการวางเซ็นเซอร์ให้ไกลที่สุดจากวัตถุที่จะตรวจจับ ถ้าเซ็นเซอร์อาจได้ผลกระทบจากอุณหภูมิ หากติดตั้งเซ็นเซอร์ใกล้จุดที่มีอุณหภูมิสูงเกินไปเซ็นเซอร์จะพังเร็วกว่ากำหนดและต้องเปลี่ยนตัวใหม่ หรืออาจเปลี่ยนเป็นเซ็นเซอร์ที่ทนอุณหภูมิสูงแทนซึ่งมีราคาที่แพงกว่าเซ็นเซอร์ปกติ อีกกรณีหนึ่งที่การติดตั้งเซ็นเซอร์ไกลออกไปจากวัตถุตรวจจับเพื่อลดโอกาสการสัมผัสกันโดยไม่จำเป็นของเซ็นเซอร์กับวัตถุตรวจจับเพื่อยืดอายุของเซ็นเซอร์  ถ้าติดตั้งเซ็นเซอร์ใกล้เกินไปอาจทำให้วัตถุกระแทกกับปลายของเซ็นเซอร์ทำเกิดความเสียหายได้ ข้อพิจารณาที่ 2: ขนาดพื้นที่สำหรับติดตั้ง? บางครั้งการใช้เซ็นเซอร์ทรงกลมหรือแม้แต่รุ่นลำตัวสั้น อาจไม่สามารถทำการติดตั้งได้ในบางพื้นที่   เซ็นเซอร์สี่เหลี่ยมอาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า ด้วยเทคโนโลยีเดียวกันนี้ทำให้สามารถตรวจจับได้ใกล้เคียงกับเซ็นเซอร์รแบบทรงกลมเพียงแต่อย่ในรูปทรงสี่เหลี่ยม ข้อพิจารณาที่ 3: จำเป็นต้อง Shield หรือ Unshield […]

System

15 June 2020

วิธีเลือกใช้งาน Industrial Ethernet Switch

วิธีเลือกใช้งาน Industrial Ethernet Switch การเลือก Industrial Ethernet Switch ให้เหมาะสมกับงานอาจเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสับสนบ้างเพราะมีข้อควรพิจารณาหลายอย่างในการเลือกใช้งาน เช่น Managed switch หรือ Unmanaged switch, สภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร, ต้องการ Redundancy หรือไม่ เป็นต้น ในที่นี้เราจะขอกล่าวถึงสิ่งที่ควรพิจารณาเบื้องต้นในการเลือกใช้ Industrial Ethernet Switch Switch ทำหน้าที่อะไร ก่อนที่จะทำความรู้จักกับคุณสมบัติต่างๆของ Industrial Ethernet Switch เรามาทำความรู้จักกับ Ethernet Switch กันก่อนว่ามันคืออะไรและใช้ทำอะไร Ethernet Switch (หรือเรียกอีกอย่างว่า Switching Hub) โดยทั่วไปจะใช้เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์อีเธอร์เน็ต ทำหน้าที่รับเฟรมข้อมูลจากอุปกรณ์ตัวหนึ่งและส่งไปยังพอร์ตซึ่งเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อีเธอร์เน็ตตัวอื่น ๆ  ขณะส่งเฟรมข้อมูลเหล่านี้มันก็จะรู้ตำแหน่งของอุปกรณ์อีเธอร์เน็ตและใช้ข้อมูลนี้เพื่อช่วยในการตัดสินใจว่าพอร์ตใดที่จะส่งข้อมูลไปให้  ซึ่งจะช่วยลดทราฟฟิกของเครือข่ายเนื่องจากข้อมูลถูกส่งไปที่ยังพอร์ตที่ต้องการเท่านั้น Ethernet Hub (หรือที่เรียกสั้นๆว่า Hub) เป็นอุปกรณ์ที่คล้ายกับ Ethernet Switch แต่จะอนุญาตให้อุปกรณ์อีเธอร์เน็ตสื่อสารได้ครั้งละหนึ่งตัวเท่านั้นกับอุปกรณ์ตัวอื่นๆในเครือข่าย  ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพเครือข่ายลดลงเนื่องจากอุปกรณ์แต่ละตัวจะต้องรอการส่งข้อมูล สำหรับข้อมูลปริมาณไม่มากหรือจำนวนอุปกรณ์น้อยการใช้ Hub […]

System

10 June 2020

เทคนิคการรวบรวมข้อมูลจากสายการผลิตสู่ Big Data

เทคนิคการรวบรวมข้อมูลจากสายการผลิตสู่ Big Data การก้าวสู่ยุค Industry 4.0 ด้วยเทคโนโลยี IIoT (Industrial Internet of Things) ถือว่าเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่ง Big Data ถือเป็นเทรนด์สำคัญในยุคนี้เช่นกัน  ถ้าแปลแบบตรงตัว Big Data คือ ข้อมูลจำนวนมหาศาลที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์กร โรงงาน หรือโลกดิจิทัลในระบบเครือข่ายต่างๆ นั่นเอง ในบทความนี้เราจะไม่ขอกล่าวถึงความสำคัญและประโยชน์ของ Big Data  แต่เราจะกล่าวเฉพาะการรวบรวม Big Data ที่ได้จากการผลิตในโรงงานเท่านั้น โดยปกติ Big Data จะถูกจัดเก็บไว้ในรูปแบบ Database ของโรงงานหรืออยู่บนระบบ Cloud ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการขององค์กรนั้นๆ  สิ่งที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้จะเน้นที่การส่งข้อมูลจาก Controller(เช่น PLC, DCS และ HMI) ในระบบการผลิตเข้าสู่ Database ของระบบ IT โดยตรง  ซึ่งทั้ง 2 ทำงานบนแพลตฟอร์มและจุดประสงค์การใช้งานที่ต่างกัน  ในทางปฏิบัติจะมีเทคนิคหลากหลายรูปแบบที่สามารถทำให้ข้อมูลที่อยู่ในสายการผลิตถูกส่งตรงขึ้นไปยัง […]

System

23 May 2020

เซฟตี้รีเลย์ (Safety relay) ทำงานอย่างไร

เซฟตี้รีเลย์ (Safety relay) ทำงานอย่างไร เซฟตี้รีเลย์ทำงานอย่างไรและทำไมต้องใช้เซฟตี้รีเลย์ ต่อไปเรามาไขความกระจ่างกัน เซฟตี้รีเลย์ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับระบบ Machine safety ที่ขาดเสียมิได้  เพราะถือว่าเป็นอุปกรณ์เซฟตี้ที่ใช้อยู่ในอุปกรณ์ประเภท Logic Device เช่น Monitoring Safety Relay หรือนำไปใช้เป็น Output Device ก็ได้ ก่อนที่เราจะทำความรู้จักกับเซฟตี้รีเลย์เรามาดูหลักการทำงานเบื้องต้นของรีเลย์ที่ใช้สำหรับงานคอนโทรลทั่วไปกันก่อน จากรูปที่ 1 แสดงโครงภายในของรีเลย์แบบใช้งานทั่วไป ซึ่ง Armature จะทำหน้าที่ให้หน้าคอนแทคสับเปลี่ยนตำแหน่งโดยอาศัยสนามแม่เหล็กจากคอยล์แม่เหล็กไฟฟ้า   ส่วนรูปที่ 2 แสดงหน้าคอนแทคภายในของรีเลย์รุ่น 2 คอนแทค จากรูปจะเห็นว่าหน้าคอนแทคทั้ง 2 จะถูก Armature ขับเคลื่อนไปด้วยกัน ดังนั้นหน้าคอนแทคทั้ง 2 จะเปิดหรือปิดวงจรพร้อมๆกัน  เมื่อจ่ายไฟเข้าคอยล์จะทำให้คอนแทคทั้ง 2 ปิดวงจร และเมื่อหยุดจ่ายไฟเข้าคอยล์เกิดมีหน้าคอนแทคตัวใดตัวหนึ่งเกิดการหลอมติดกันมันจะค้างการปิดวงจรอยู่เช่นนั้น  แต่หน้าคอนแทคอีกตัวหนึ่งจะกลับไปสู่สภาวะปกติ(NC) ก่อนการจ่ายไฟ คราวนี้เราลองมาดูโครงสร้างของเซฟตี้รีเลย์กันบ้างดังแสดงในรูปที่ 3 สิ่งที่แตกต่างจากรีเลย์ใช้งานทั่วไปคือหน้าคอนแทค NO และ NC จะมี […]

System

21 April 2020

Warning: Undefined array key "offset_start" in /newdata/vhosts/sonicautomation.co.th/httpdocs/wp-content/themes/plant/inc/template-tags.php on line 122
1 3 4 5 11