Sonic Automation และ Rockwell Automation ร่วมงาน ARIS DAY 2020

วันที่ 2 ธันวาคม 2563 โซนิค ออโตเมชั่น และ ร็อคเวล ออโตเมชั่น ร่วมออกบูธแสดงเทคโนโลยี IIoT ในงาน Automation Robotics and Intelligent System (ARIS) Day 2020 ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยนำเสนอเทคโนโลยี Machine Learning, IoT software platform, AR และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง

System

2 December 2020

พื้นฐานการเขียนโปรแกรม PLC ด้วยภาษา Structure Text

พื้นฐานการเขียนโปรแกรม PLC ด้วยภาษา Structure Text ภาษา Structure Text หรือตัวย่อสั้นๆอาจจะเรียกว่า “ST” เป็นหนึ่งในภาษาที่อยู่ใน Standard IEC61131-3 ว่าด้วยเรื่องของมาตรฐานการเขียนโปรแกรมบน Programable Logic Controller (PLC) เป็นภาษาที่มีจุดเด่นในด้านความง่ายในการโปรแกรมที่มีการคำนวนที่ซับซ้อน มีการบวก ลบ คูณ หาร หรือการ mapping ข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งถ้าใช้ Ladder Diagram อาจจะใช้จำนวนบล็อกที่มากกว่าในการทำงานอย่างเดียวกัน งานที่มีลักษณะการทำงานเป็นเงื่อนไข (IF ELSE) ก็สามารถจัดการได้ง่ายกว่า หรือแม้กระทั่งคำสั่งวนลูปต่างๆเพื่อนำไปใช้จัดการกับ Array ของข้อมูลจำนวนมาก ก็เหมาะอย่างยิ่งกับการเขียนด้วย Structure Text ในบทความนี้ ผู้เขียนจะอ้างอิงโดยใช้ PLC ตระกูล Logix ของยี่ห้อ Allen-Bradley ซึ่งใน PLC แต่ละยี่ห้ออาจจะมีไวยากรณ์ที่ต่างกันบ้างเล็กน้อย แต่โดยรวมแล้วจะมีหลักการเขียนที่เหมือนกัน โดยผู้เขียนขอแบ่งหัวข้อออกเป็น 4 หัวข้อ ได้แก่ […]

System

10 November 2020

ทำไมต้องตรวจสุขภาพมอเตอร์ไฟฟ้า

ทำไมต้องตรวจสุขภาพมอเตอร์ไฟฟ้า คิดว่าหลายท่านคงมีความคุ้นเคยกับการตรวจสุขภาพประจำปี เหตุผลสำคัญก็เพื่อให้ทราบถึงแนวโน้มที่อาจก่อให้เกิดโรค เมื่อทราบแล้วจะได้หาแนวทางในการลดโอกาสที่จะเกิดโรคนั้นๆ เช่น ตรวจพบไขมันในเลือดเพิ่มสูงขึ้นทุกๆปี ถ้าปล่อยให้เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ก็อาจก่อให้เกิด โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ เป็นต้น ถ้าเราทราบเช่นนี้ทำให้สามารถว่าแผนในการลดความเสี่ยงการเกิดโรคได้ทันท่วงที ในทำนองเดียวกันมอเตอร์ไฟฟ้าซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญในโรงงานอุตสาหกรรม อาจทำงานล้มเหลวหรือเกิดความเสียหายขึ้นเมื่อไรก็ได้ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งมอเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นกำลังหลักของการผลิต ความล้มเหลวและความเสียหายของมอเตอร์ไฟฟ้า ข้างล่างนี้แสดงตัวอย่างความล้มเหลวที่พบบ่อยที่สุดที่สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยใช้วิธีการตรวจสอบสภาพการทำงานของมอเตอร์ฟ้า: ความผิดปกติของตลับลูกปืน(bearings): อาจเกิดจาก การหล่อลื่นที่ไม่ถูกต้อง ความเค้นทางกล การประกอบที่ไม่ถูกต้อง การเยื้องศูนย์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อชิ้นส่วนต่างๆ ของตลับลูกปืน ความผิดปกติของขดลวดสเตเตอร์(Stator Winding Faults): โดยปกติเป็นผลมาจากความร้อนสูงเกินไป การปนเปื้อน การเลือกขนาดที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้เกิดการลัดวงจรที่ขดลวดเฟสเดียวกัน เฟสต่อเฟส และขดลวดรัดวงจรลงกราวด์ เป็นต้น ความล้มเหลวดังกล่าวทำให้เกิดความไม่สมดุลทางไฟฟ้าของสเตเตอร์รวมทั้งการทำให้เกิดกระแสฮาร์มอนิก ความผิดปกติของโรเตอร์(Rotor Faults): มักเกิดจากแท่งตัวนำหักหรือวงแหวนปลายหักการจัดแนวโรเตอร์ไม่ตรงและไม่สมดุล นอกจากนี้อาจมีความผิดปกติประเภทอื่นๆ อีก เช่น มอเตอร์เพื่อขับโหลดผ่านการเชื่อมต่อกับ รอก สายพาน และเกียร์ เป็นต้น ความล้มเหลวที่เกิดจากกระบวนการปิโตรเคมี และอื่นๆ การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์(Predictive maintenance) จะดีกว่าไหมถ้าเราทราบปัญหาสุขสภาพของมอเตอร์เพื่อวางแผนในการบำรุงรักษาก่อนที่มันจะทำงานล้มเหลว ซึ่งเป็นการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ […]

System

18 October 2020

ฉลองครบรอบ 10 ปี – 10th Anniversary

วันที่ 8 ตุลาคม 2563โซนิค ออโตเมชั่น จัดงาน “ฉลองครบรอบ 10 ปี” และพิธีทำบุญเลี้ยงพระ เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลแก่ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯ โดยมี คุณสุโรจน์ พนาสหธรรม Country manager บริษัท Sonepar (Thailand) Limited ให้เกียรติเป็นประธานและประกาศวิสัยทัศน์ พร้อมเป็นบริษัทที่มุ่งเน้น Digital Transformation

System

8 October 2020

ลดฮาร์มอนิกแก้ปัญหาคุณภาพไฟฟ้าได้

ลดฮาร์มอนิกแก้ปัญหาคุณภาพไฟฟ้าได้ คุณกำลังเผชิญปัญหาเหล่านี้อยู่หรือไม่? • มอเตอร์และหม้อแปลงร้อนเกินไป • เบรกเกอร์ทริปบ่อย • ฟิวส์ขาดบ่อย • ตัวเก็บประจุทำงานผิดปกติ • สัญญาณโทรศัพท์ถูกรบกวน • อินเวอร์เตอร์ทำงานผิดปกติ • PLC และคอมพิวเตอร์ขัดข้อง – เช่น หน้าจอ “ค้าง” • หลอดไฟกะพริบรุนแรง ถ้าคุณพบสัญญาณดังกล่าวแสดงว่าโรงงานของคุณอาจมีปัญหาฮาร์มอนิก และคุณจะแก้ปัญหาฮาร์มอนิก (Harmonic) ได้อย่างไร เพื่อให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของการกรองฮาร์มอนิก(Harmonic filtering) เราจำเป็นต้องเข้าใจก่อนว่าฮาร์มอนิกคืออะไร แรงดันไฟฟ้าของแหล่งจ่ายไฟ AC ที่ใช้ในประเทศของเราจะมีความถี่ 50Hz ซึ่งแรงดันจะแกว่งไปมาระหว่างบวกและลบ 50 ครั้งต่อวินาทีมีลักษณะเป็นรูปคลื่นไซน์(sine wave)ที่สมบูรณ์ โหลดไฟฟ้ากระแสสลับประเภท Linear เช่น เครื่องทำความร้อน หรือหลอดไฟไส้จะสร้างกระแสไฟที่เป็นไปตามรูปคลื่นไซน์เดียวกันกับแรงดันไฟฟ้า กราฟด้านล่างแสดงรูปคลื่น Sine ของแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าที่เกิดจากโหลดประเภท Linear  สีน้ำเงินคือแรงดันไฟฟ้าและสีแดงคือกระแสไฟฟ้า อย่างไรก็ตามการใช้งานกับโหลดประเภท Non-linear เช่น Inverter หรือ VSD กระแสไฟฟ้าจะไม่เป็นไปตามแรงดันไฟฟ้า […]

System

11 September 2020

Warning: Undefined array key "offset_start" in /newdata/vhosts/sonicautomation.co.th/httpdocs/wp-content/themes/plant/inc/template-tags.php on line 122
1 2 3 11