Dashboard กับ Storyboard ต่างกันอย่างไร?
Dashboard กับ Storyboard ต่างกันอย่างไร?
นี่อาจเป็นคำถามที่ค้างคาใจใครหลายๆคนว่า แดชบอร์ด (Dashboard) คืออะไร มันแตกต่างกับสตอรีบอร์ด (Storyboard) อย่างไร และเมื่อไรควรใช้สตอรีบอร์ดและแดชบอร์ด เนื่องจากเรามีการรับรู้ที่แตกต่างกันว่าจริงๆ แล้วแดชบอร์ดคืออะไร บทความต่อไปนี้จะช่วยให้คุณมีความเข้าใจที่ดีขึ้นระหว่างสตอรีบอร์ดกับแดชบอร์ด
Dashboard คืออะไร?
แดชบอร์ดเป็นเทคนิคการแสดงข้อมูลที่แสดงสถานะปัจจุบันและ/หรือแนวโน้มในอดีตของข้อมูลที่สำคัญและ KPI ต่างๆ เป็นต้น แดชบอร์ดจะรวบรวมและจัดเรียงข้อมูล ตัวชี้วัดต่างๆไว้ในหน้าจอเดียว อาจได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมหน่วยงานนั้นๆ เช่น แผนกผลิตอาจมีตัวเลข ปริมาณการผลิต Downtime และ OEE เป็นต้น คุณสมบัติที่สำคัญของแดชบอร์ดได้แก่ อินเทอร์เฟซที่ปรับแต่งได้และความสามารถในการดึงข้อมูลแบบเรียลไทม์จากแหล่งต่างๆ สิ่งหลังมีความสำคัญเนื่องจากคนจำนวนมากคิดว่าแดชบอร์ดเป็นเพียงข้อมูลสรุปเท่านั้น ข้างล่างนี้คือตัวอย่างคุณสมบัติของแดชบอร์ด
1.มีความเรียบง่ายและสื่อสารตรงประเด็น
2.รองรับการดึงข้อมูลและจัดระเบียบข้อมูลที่มีความหมายและเป็นประโยชน์ และนำเสนอข้อมูลด้วยภาพ
3.การโต้ตอบกับผู้ใช้งาน(user)จำกัด เช่น การกรอง การเรียงลำดับ ความสามารถแบบเจาะลึก และผู้ใช้งานไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ด้วยตัวเอง แต่จะมีผู้ดูแลระบบทำหน้าที่จัดการแดชบอร์ดให้
Storyboard คืออะไร?
มีความแตกต่างระหว่างสตอรีบอร์ดกับแดชบอร์ดมากแค่ไหน? จริงๆแล้วมันต่างกันไม่มาก ทั้งคู่มุ่งเน้นไปที่การสื่อสาร รวบรวมข้อมูลและแสดงผลเป็นภาพ ข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างสตอรีบอร์ดกับแดชบอร์ด คือ การโต้ตอบกับผู้ใช้งาน(user) การโต้ตอบของสตอรีบอร์ดทำให้ผู้ใช้งานสามารถ เรียงลำดับข้อมูล กรองข้อมูล เปลี่ยนประเภทแผนภูมิหรือกราฟได้ทันที เพิ่มการแสดงภาพข้อมูลใหม่ได้ จัดเก็บและแชร์ให้ผู้อื่นได้ เจาะลึกในรายละเอียด เพิ่มหรือปรับการวัดและวิธีการคำนวณได้ ปรับรูปแบบทั้งหมดของบอร์ดเองได้
ความแตกต่างที่สำคัญอีกประการระหว่างสตอรีบอร์ดกับแดชบอร์ด คือ สตอรี่บอร์ดเป็นบอร์ดที่ใช้งานได้ด้วยตนเอง หมายความว่าผู้ใช้งานสร้างบอร์ดเองได้ ตรงข้ามกับแดชบอร์ดที่โดยทั่วไปจะ "จัดการ" จากผู้ดูแลระบบเท่านั้น
Dashboard กับ Storyboard อย่างไหนเหมาะกับงานของคุณ?
แดชบอร์ดมีรูปแบบการวิเคราะห์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า อาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับ KPI หรือแนวโน้มของข้อมูลสำคัญบางอย่าง และถ้าไม่ต้องการให้ผู้ใช้งาน "โต้ตอบ" กับข้อมูลเหล่านั้น เพราะเป็นข้อมูลที่มีการแสดงผลเป็นประจำและสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้ใช้งานรับทราบหรือดำเนินการบางอย่าง การใช้แดชบอร์ดจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสม
จุดประสงค์ของสตอรีบอร์ด คือ การบอกเล่าเรื่องราว ผู้ใช้สามารถเลือกขอบเขตของข้อมูลที่สนใจ ซึ่งอาจผสมผสานข้อมูลจากแหล่งต่างๆ และสร้างเรื่องราวเกี่ยวกับข้อมูลที่ให้ข้อมูลเชิงลึกจากมุมมองต่างๆ เรื่องราวสร้างขึ้นจากการแสดงภาพต่างๆ ที่จัดกลุ่มเข้าด้วยกันบนบอร์ด ถ้าผู้ใช้งานต้องการทำสิ่งต่างๆเหล่านี้ด้วยตัวเอง ดังนั้น สตอรีบอร์ดจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมกว่า
การใช้สตอรี่บอร์ดได้เปลี่ยนแปลงพัฒนาการของอุตสาหกรรมทุกวันนี้ไปอย่างมาก เพราะช่วยในการวิเคราะห์และการตัดสินใจทางเลือกในการแก้ปัญหาหรือปรับปรุงการผลิตได้ดีและรวดเร็วกว่า โดยสิ่งที่ได้จะอิงจากข้อมูลเชิงลึกที่แท้จริง