5 เหตุผลที่ควรควบคุมอินเวอร์เตอร์ผ่านเน็ตเวิร์ค

5 เหตุผลที่ควรควบคุมอินเวอร์เตอร์ผ่านเน็ตเวิร์ค (Network) ในการฝึกอบรมการใช้ PLC ขั้นพื้นฐานมีลูกค้าท่านหนึ่งถามว่า ‘การควบคุมอินเวอร์เตอร์ด้วย PLC ผ่านเน็ตเวิร์คดีกว่า Hard-wired อย่างไร’ และ ‘การต่ออินเวอร์เตอร์เข้ากับเน็ตเวิร์คมันยากไหม’ ผู้บรรยายครุ่นคิดอยู่ชั่วครู่ก่อนที่จะตอบคำถามลูกค้าท่านนั้น โดยให้เหตุผล 5 ข้อ ที่ควรเลือกการเชื่อมต่ออินเวอร์เตอร์กับ PLC ด้วยเน็ตเวิร์ค ซึ่งพอจะไล่เรียงได้ดังต่อไปนี้ 1.ลดต้นทุน (Reduce cost) เหตุผลแรกที่จะกล่าวถึงคือลดต้นทุน  สมมุติว่าคุณมีอินเวอร์เตอร์(Inverter)เพียงตัวเดียวควบคุมด้วย PLC การใช้ Hard-wired น่าจะเป็นวิธีง่ายที่สุด  แต่ถ้าคุณต้องใช้อินเวอร์เตอร์หลายๆ ตัวในระบบ   การควบคุมอินเวอร์เตอร์ผ่านเน็ตเวิร์คน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าและช่วยประหยัดต้นทุนของระบบได้ เราลองมาดูกันว่ามันจะช่วยประหยัดได้อย่างไร  จากรูปข้างบนเป็นตัวอย่างการเดินสาย(hard wired)ควบคุมระหว่าง PLC กับอินเวอร์เตอร์  จะเห็นว่าอินเวอร์เตอร์หนึ่งตัวจะใช้สายสัญญาณอย่างน้อย 6 เส้น โดยจะมีสัญญาณ Digital Output = 3 จุด, Digital Input = 1 จุด, Analog Output = […]

System

7 January 2020

ปัญหาคุณภาพไฟฟ้าและการปรับปรุง (ตอนที่ 1)

ปัญหาคุณภาพไฟฟ้าและการปรับปรุง (ตอนที่ 1) คุณภาพกำลังไฟฟ้า(Power Quality) ได้มีการให้ความสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน  โดยทั่วไปนั้นมักให้ความสำคัญในปัญหาของคุณภาพไฟฟ้าในลักษณะที่แตกต่างกันตามเหตุการณ์ที่ได้เผชิญอยู่ เช่น แรงดันไฟฟ้าตก ไฟฟ้าดับ ไฟฟ้ากระโชก(หรือหลายคนเรียกไฟกระชาก) ไฟกระพริบ เป็นต้น คุณภาพไฟฟ้าในระดับสากลนั้นมักจะอ้างอิงตามมาตรฐาน IEEE ,IEC และอื่นๆที่ใกล้เคียงเช่น British standard (BS) ,German Industrial Standard (DIN) เป็นต้น โดยแต่ละมาตรฐานนั้นจะมีการกำหนดนิยามของคุณลักษณะของแรงดัน กระแส ความถี่ของแหล่งจ่ายไฟฟ้า สัญญาณรบกวนในระดับความถี่ต่ำ ความถี่สูง(กิโลเฮิร์ตkHz ถึง กิกะเฮิร์ต GHz) ฮาร์โมนิคส์(Harmonics Distortion) ปัญญหาฮาร์โมนิคส์(Harmonics) ถือว่าเป็นหนึ่งในปัญหาคุณภาพไฟฟ้า  ในที่นี้จะกล่าวถึงจะกล่าวถึงความผิดเพี้ยนของรูปคลื่นความถี่โดยความถี่นั้นจะเป็นไปตามจำนวนเท่าของความถี่หลัก  50 Hz ซึ่งเป็นความถี่ที่การไฟฟ้าแห่งประเทศไทยได้เลือกใช้ โดยการกำเนิดของฮาร์โมนิคส์นี้โดยมากจะมาจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีการแปลงไฟฟ้าจากกระแสสลับเป็นกระแสตรง (AC — > DC , AC/DC )  ซึ่งปกติแล้วการแปลงไฟฟ้านั้นจะใช้อุปกรณ์จะใช้อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ(Semi-conductor) เช่น ไดโอด(Diode) บริดจ์ไดโอด(Bridge Diode) ไทริสเตอร์(Thyristor) […]

System

7 January 2020

บริษัท โซนิค ออโตเมชั่น จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่าย Allen-Bradley(AB)

Aliquam porta volutpat consectetur. Morbi elementum semper efficitur. Pellentesque habitant morbi tristique senectus et netus et malesuada fames ac turpis egestas. Vestibulum in ante quam. Integer faucibus blandit neque, at laoreet odio varius sit amet. In rutrum orci quis orci sollicitudin, eu suscipit est ornare. Fusce vitae neque nulla.

System

26 November 2019

การประหยัดพลังงานด้วยอินเวอร์เตอร์รีเจนเนอร์เรทีฟ (Regenerative Inverter)

การประหยัดพลังงานด้วยไดรฟ์รีเจนเนอร์เรทีฟ (Regenerative Drive)           ปัจจุบัน Inverter หรือ AC Drive หรือ Variable Frequency Drive(VFD) ซึ่งในที่นี้ขอเรียกว่า ไดรฟ์ เป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางทั้งในเรื่องประหยัดพลังงานไฟฟ้าและการควบคุมกระบวนการผลิตทั่วไป  โดยปกติโหลดที่สามารถใช้ไดรฟ์หรืออินเวอร์เตอร์เพื่อการประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพคือโหลดประเภท Variable Torque เช่น ปั๊ม และพัดลม เป็นต้น  แต่ยังมีอีกวิธีการหนึ่งคือการประหยัดพลังงานไฟฟ้าจากการรีเจนเนอร์เรชั่น (Regeneration) ที่เกิดจากมอเตอร์ วัตถุประสงค์หลักของมอเตอร์ไฟฟ้าคือการแปลงพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานกล แต่ถ้าความเร็วซิงโครนัส(synchronous speed)ของมอเตอร์ช้ากว่าความเร็วของโรเตอร์  มอเตอร์จะทำหน้าที่เสมือนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและแปลงพลังงานเชิงกลเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยทั่วไปแล้วพลังงานนี้จะถูกป้อนกลับเข้าไปที่ตัวเก็บประจุไฟฟ้าของบัส DC (DC bus)  แต่บัส DC สามารถจัดการกับแรงดันไฟฟ้าที่จำกัดและอาจก่อให้เกิด Overvoltage fault ซึ่งเราเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ว่า Regeneration และพลังงานไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้จะต้องหาทางไปที่ไหนสักแห่งและถ้ามีพลังงานนี้มีมากเกินไปอาจทำให้ไดรฟ์หรืออินเวอร์เตอร์เกิดความเสียหายได้ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ตัวต้านทานเบรคแบบไดนามิก (Dynamic braking resistor) เพื่อลดพลังงานที่เกิดขึ้นนี้  อย่างไรก็ตามวิธีการใช้ตัวต้านทานเพื่อลดพลังงานที่เกิดขึ้นนี้จะเปลี่ยนพลังงานไปเป็นความร้อนซึ่งเป็นพลังงานที่สูญเปล่าไป   แต่แทนที่จะปล่อยให้พลังงานนี้สูญเสียไปเราสามารถใช้โซลูชั่นที่จะกล่าวต่อไปมาใช้เพื่อนำพลังงานนี้กลับมาใช้งานใหม่ได้   […]

System

26 November 2019

เคล็ดไม่ลับ “ประหยัดกว่าด้วยการควบคุมอินเวอร์เตอร์ผ่าน Ethernet”

เคล็ดไม่ลับ “ประหยัดกว่าด้วยการควบคุมอินเวอร์เตอร์ผ่าน Ethernet” การควบคุมการทำงานของอินเวอร์เตอร์(Inverter) มักจะสั่งงานผ่านอินพุตเอาต์พุตของ PLC โดยใช้สัญญาณทั้งดิจิตตอลและอนาลอก เช่น Start, Stop, Speed reference และ Fault เป็นต้น ทำให้ต้องใช้อินพุตเอาต์พุตทั้งดิจิตอลและอนาลอกจำนวนหลายจุดสำหรับอินเวอร์เตอร์หนึ่งตัว  แต่ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ยุคที่อุปกรณ์ต่างๆในกระบวนการผลิตสามารถเชื่อมต่อกันผ่านระบบสื่อสาร ซึ่ง Ethernet เป็นหนึ่งในระบบการสื่อสารที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการสื่อสารภาคการผลิตและเป็นระบบการสื่อสารหลักที่ใช้กับระบบ IT เช่นกัน  จะว่าไปแล้ว OT (Operation Technology) กับ IT(Information Technology) กำลังผสานกันเป็นหนึ่งเดียวผ่าน Ethernet ต่อไปนี้เราจะอธิบายถึงการนำ PLC ขนาดเล็กไปควบคุมอินเวอร์เตอร์โดยผ่าน Ethernet ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถลดจำนวนสายสัญญาณระหว่าง PLC กับอินเวอร์เตอร์ได้  และการทำก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิดผู้เขียนกลับมองว่ามันง่ายกว่าวิธีการเดิมเสียด้วยซ้ำ รูปข้างล่างนี้แสดงตัวอย่างการต่อ Micro850 ซึ่งเป็น PLC ขนาดเล็กของ Allen-Bradley กับ PowerFlex 525 และแสดง IP address ของอุปกรณ์แต่ละตัว จากรูปข้างบนจะเห็นว่า […]

System

4 November 2019

Warning: Undefined array key "offset_start" in /newdata/vhosts/sonicautomation.co.th/httpdocs/wp-content/themes/plant/inc/template-tags.php on line 122
1 5 6 7 11